เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
2/8/2561 / 167 / สร้างโดย Web Admin

กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ มีหน้าที่บริหารจัดการ ทรัพย์สินมีค่าซึ่งมีหลากหลายประเภท ได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องประดับเงินตราโบราณเหรียญที่ระลึก ดวงตราไปรษณียากรและทรัพย์สินเบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยได้ดำเนินการดูแลรักษา และอนุรักษ์ให้คงสภาพที่ดี ป้องกันการชำรุดเสื่อมสภาพ ในปีงบประมาณ 2559 ได้จัดทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุไร้กรด สำ หรับจัดเก็บรักษาทรัพย์สิน แต่ละชนิดเป็นพิเศษเพื่อป้องกันความชำรุดเสียหาย และ จัดเก็บทรัพย์สินไว้ภายในห้องมั่นคงที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นการดูแลรักษาทรัพย์สินตามหลักวิชาการอนุรักษ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ได้เพิ่มการควบคุมดูแล โดยใช้เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ในการตรวจสอบสถานะ ติดตามและบันทึกข้อมูลการ เคลื่อนย้ายทรัพย์สิน โดยในรอบปีงบประมาณ 2559 มีผล การดำ เนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินสูง กว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้

  1. จัดทำ ทะเบียนทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ได้จำนวน 2,765 ชิ้น จากเป้าหมาย 2,750 ชิ้น
  2. จัดเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ได้จำนวน 3,965 ชิ้น จากเป้าหมาย 3,950 ชิ้น
  3. อนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ได้จำนวน 1,243 ชิ้น จากเป้าหมาย 700 ชิ้น
  4. อนุรักษ์ดวงตราไปรษณียากรสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จำ นวน 3,390 แผ่นจากเป้าหมาย 3,000 แผ่น

ตารางแสดงจำ นวนผู้เข้าชมการจัดแสดงในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2559)


สถานที่ ผู้เข้าชมชาวไทย ผู้เข้าชมชาวต่างประเทศ
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญกษาปณ์
262,266
678,546
พิพิธภัณฑ์เหรียญ (ระยะที่ 1)
11,886
3,464
พิพิธบางลำพู
19,121
899
ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่
14,046

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา
10,145
899
รวมผู้เข้าชมทั้งหมด
1,000,373

 

ด้านการเผยแพร่และจัดแสดง

กรมธนารักษ์ได้เข้าร่วมโครงการคืนความสุข ให้ประชาชนของ คสช. โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชม พิพิธภัณฑ์ศาลาเครื่องราชอิสริยยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ พิพิธภัณฑ์เหรียญและพิพิธบางลำพูโดยไม่เก็บค่าเข้าชม รวมทั้งมีการจัดแสดงในส่วนภูมิภาค จำนวน 2 แห่ง คือ ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่ และศาลาธนารักษ์ 2 จังหวัดสงขลา (ไม่เก็บค่าเข้าชม) ซึ่งมี จำนวนผู้เข้าชมการจัดแสดงทั้งสิ้น 1,000,373 คน

 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้จัดนิทรรศการสำคัญ ต่าง ๆ ดังนี้ งานนิทรรศการ ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ในพระบรม- มหาราชวัง จำนวน 3 ครั้ง คือ นิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง "พระสุหร่าย: จากตะวันออกไกลสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ” ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2558 – 29 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง "เครื่องถ้วยจักรี: สายสัมพันธ์ระหว่างไทย – ตะวันตก” ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 30 มิถุนายน 2559 และเรื่อง "พระบารมีปกเกล้า” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเนื่อง ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 30 กันยายน 2559 และที่พิพิธภัณฑ์เหรียญ (ระยะที่ 1) ได้มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ ทั้งวิวัฒนาการเงินตราไทยและจัดแสดงเหรียญนานาชาติ และนิทรรศการ 70 ปี ครองราชย์ตามรอยพระบาทยาตรา ระหว่างวันที่ 10 – 30 มิถุนายน 2559 รวมทั้งได้มีการ จัดกิจกรรมวันเด็กที่พิพิธภัณฑ์ทั้ง ๓ แห่ง คือศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์พิพิธภัณฑ์เหรียญ และพิพิธบางลำพูตลอดจนได้ดำเนินการจัดนิทรรศการนอกสถานที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 51 ครั้ง โดยเป็นการจัดตามโรงเรียน และสถานศึกษา จำนวน 32 ครั้ง และตามสถานที่จัดงานสัมมนา รวมถึงตามที่ ได้รับเชิญ จำนวน 19 ครั้ง อาทิงานกาชาดประจำ ปี 2559 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 7 เมษายน 2559 ณ บริเวณ หน้าที่ทำการสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) งานมอบรางวัล ทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำ ปี 2559 ที่จัดขึ้นโดยกรมบัญชีกลาง

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ณ อิมแพคเมืองทองธานีจังหวัดนนทบุรี ซึ่งทุนหมุนเวียนการแสดงเหรียญกษาปณ์และ เงินตราไทยได้รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประเภทรางวัล ผลการดำเนินงานดีเด่นประจำปี 2559 และรางวัลประสิทธิภาพ ด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียนดีเด่นและงานแสดงผลงานทางพิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานแห่งประเทศไทย (รักชาติ เฟสติวัล) ระหว่างวันที่ 1–3 มิถุนายน 2559 ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติจังหวัดปทุมธานีและเข้าร่วมงานนิทรรศการในต่างประเทศ จำนวน 3 ครั้ง คือ งานนิทรรศการ World Money Fair 2016 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมณี ระหว่างวันที่ 5–7 กุมภาพันธ์ 2559 งานนิทรรศการ Singapore International Coin Fair 2016 ณ ประเทศ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน 2559 และงาน นิทรรศการ Tokyo International Coin Convention 2016 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึง 1 พฤษภาคม 2559 นอกจากนี้ยังได้มีการจัดโครงการเสวนา "พิพิธบางลำพูเสน่ห์ธนารักษ์คู่ชุมชน” วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 ณ พิพิธบางลำพู เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมธนารักษ์และชุมชนบางลำพูโดยเชิญบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสร้างพิพิธบางลำพูร่วมเสวนาถึงเรื่องราวการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการนำวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนบางลำพูมาถ่ายทอดผสมผสานกับการบอกเล่าภารกิจในการดูแลและบริหารทรัพย์สินของแผ่นดิน ของกรมธนารักษ์ให้ประชาชนได้รับรู้ และโครงการ "ทุกสัมผัส แห่งวิถีของเงินตรา” ระหว่างวันที่ 9–16 สิงหาคม 2559 ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางด้าน เงินตราให้กับผู้พิการซึ่งถือเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับรู้ และมีโอกาสในการเข้าถึงมากยิ่งขึ้นโดยเชิญโรงเรียนสถานสงเคราะห์ หรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทุกประเภทเข้าชม นิทรรศการและร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้ที่พิพิธภัณฑ์เหรียญ

 
การทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการจำ หน่ายบัตร เข้าชมศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และ เหรียญกษาปณ์ และการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในวาระต่าง ๆ
 
  1. การทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการจำ หน่ายบัตร เข้าชมศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และ เหรียญกษาปณ์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี จำนวน 1,500,000 บาท เพื่อสมทบทุนมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และจำ นวน 1,500,000 บาทโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 15.00 น. ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
  2. ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวม 6 วาระจำนวน 140 เหรียญแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศ์ รวม 9 พระองค์จำนวน 10 ชุด โดยทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามกุฎราชกุมาร จำ นวน 2 ชุด เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559
  3. ทูลเกล้าฯถวายเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ รวม 14 พระองค์ รวม 15 เหรียญ โดยทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯสยามกุฎราชกุมาร จำ นวน 2 เหรียญเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559

แผนงานโครงการที่สำคัญในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 

โครงการการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เหรียญระยะที่ 2

กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการจัดทำโครงสร้างและติดตั้งระบบจัดแสดงคือ ระบบไฟฟ้า และระบบ AV รวมทั้งงานตกแต่งและจัดวางโมเดลสื่อจัดแสดงของห้องเหรียญสมัยรัตนโกสินทร์ห้องเหรียญกับสังคมไทยห้องกว่าจะมาเป็นเหรียญห้องรู้รอบเหรียญ ห้องเหรียญตามวาระห้องเหรียญนานาชาติ ห้องกิจกรรมและห้องสมุดเฉพาะทางรวมทั้งจัดทำห้องส่งท้ายเรื่องราวเกี่ยวกับเหรียญแล้วเสร็จ
 
โครงการปรับปรุงศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่

กรมธนารักษ์มีนโยบายให้ทำการปรับปรุงศาลาธนารักษ์ 1 (อาคารบ้านทิพวรรณ) ที่มีสภาพชำรุด เพื่อบำรุงรักษาไว้ ซึ่งอาคารและสถาปัตยกรรมโบราณที่ทรงคุณค่าและปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมเป็นสัดส่วนรวมทั้งมีการจัดแสดงที่เต็มรูปแบบเพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยได้มาตรฐานจึงดำเนินการจัดทำโครงการปรับปรุงศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่โดยแบ่งการปรับปรุงออกเป็น 3 โครงการย่อย ประกอบด้วยโครงการตกแต่งจัดแสดง ศาลาธนารักษ์ 1 (อาคารบ้านทิพวรรณ) โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ และโครงการตกแต่งจัดแสดงอาคารอเนกประสงค์โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้ทำการตรวจ รับงานงวดที่ 1 โครงการตกแต่งจัดแสดงศาลาธนารักษ์ 1 (อาคารบ้านทิพวรรณ) และอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนทางพัสดุโครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์

โครงการปรับปรุงศาลาธนารักษ์ 2 จังหวัดสงขลา กรมธนารักษ์มีโครงการปรับปรุงพื้นที่ศาลาธนารักษ์ 2 และสำ นักงานธนารักษ์พื้นที่สงขลาเดิม เพื่อขยายพื้นที่ในการจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินเพิ่มเติมให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคมีโอกาสได้ร่วมชื่นชม เกิดความรัก และความ ภาคภูมิใจในมรดกที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้ดำ เนินการตามขั้นตอน ทางพัสดุเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มดำ เนินการปรับปรุงในปี งบประมาณ พ.ศ. 2560


ด้านบริหารทั่วไป
การตรวจราชการ

การตรวจราชการเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการบริหารราชการแผ่นดินที่จะทำให้การปฏิบัติราชการหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามเป้าหมายการตรวจราชการระดับกรมจึงถือเป็นวิธีการหนึ่งของการควบคุมกำกับดูแลการบริหารราชการของอธิบดีโดยมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกรมดำเนินการ

วัตถุประสงค์ของการตรวจราชการ
  1. ตรวจติดตามเร่งรัดให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติงานและการใช้ทรัพยากรการบริหารของหน่วยงาน ที่รับการตรวจให้เป็นไปตามนโยบายแผนงานงานและโครงการ กฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
  2. เสริมสร้างการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามหลักการ บริหารดำ เนินการโดยวิธีประสานงาน การแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงงานให้คำแนะนำ ปรึกษาส่งเสริมขวัญและกำลังใจ ของเจ้าหน้าที่มิใช่มุ่งเพื่อการจับผิดนอกจากนี้การตรวจราชการที่มีประสิทธิภาพสามารถสนองนโยบายการบริหารงาน ของอธิบดีได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบถึงสภาวการณ์ และข้อเท็จจริงในการบริหารราชการได้อย่างชัดเจน
  3. ติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้ง ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในการ ปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดอันเป็นประโยชน์ต่ออธิบดีที่จะได้ทราบ
  4. รับฟังทุกข์สุข ความคิดเห็นและความต้องการของ หน่วยงานต่างๆ
  5. แสวงหาข้อเท็จจริงและสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ในพื้นที

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ผู้ตรวจราชการกรมได้ตรวจ ราชการหน่วยงานต่างๆ โดยเป็นการตรวจตามกรณีปกติทั้ง หน่วยงานส่วนกลาง (สำนัก/กอง/กลุ่ม) 18 หน่วยงาน และ ส่วนภูมิภาค (สำ นักงานธนารักษ์พื้นที่) 76 พื้นที่ รวมทั้งสิ้น 94 หน่วยงาน โดยแบ่งการตรวจราชการออกเป็น 2 รอบ ดังนี

รอบที่ 1 ระหว่างเดือนธันวาคม 2558–กุมภาพันธ์ 2559 โดยเป็นการถ่ายทอดแนวนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กระทรวงการคลัง และกรมธนารักษ์ รวมถึงการติดตามผลงาน ตามแผนยุทธศาสตร์ งานตามภารกิจประจำ งานภาคบังคับ และงานอื่นๆ

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง line
ติตด่อเรา
13/3/2561 / 184
เลขที่ 4/4 ถนนเจ้าฟ้า แขวง ชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 0 2281 0345 -51, ..